เกี่ยวกับวิทยาลัย
ที่ตั้ง
เกี่ยวกับวิทยาลัย
ข้อมูลพื้นฐานการจัดการศึกษา
โครงสร้างการบริหาร
กรรมการสภาวิทยาลัย
คณะผู้บริหาร
สาส์นนายกสภา
สาส์นอธิการบดี
หลักสูตรที่เปิดสอน
ประวัติความเป็นมา
วิทยาลัยนครราชสีมา เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว.) ที่ก่อตั้งโดยคณะผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ ด้วยความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนในการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนของชาติมุ่งเน้นการขยายโอกาสทางการศึกษา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถที่จะเรียนได้ด้วยค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่เหมาะสมและมีคุณภาพ
วิทยาลัยนครราชสีมา ได้รับการอนุมัติจัดตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (ชื่อเดิมของ สป.อว.) เมื่อปี พ.ศ. 2547 บนเนื้อที่ กว่า 20 ไร่ ณ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ได้วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2545 ซึ่งพระราชวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยท่านอาจารย์ ดร.ชนากานต์ ยืนยง เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งวิทยาลัยนครราชสีมา โดยมีความมุ่งมั่นและมีนโยบายในการจัดการศึกษาที่เป็นเลิศในศาสตร์เฉพาะทาง คือด้านสุขภาพและบริการ ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่เป็นที่ต้องการอย่างสูงในการพัฒนาประเทศ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของไทยและขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนของชาติ วิทยาลัยนครราชสีมาจึงได้ดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ คือ
“สถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติและบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ”
ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้แก่ การให้การศึกษาส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย พร้อมทั้งให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมชาติ (พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546: 3)
วิทยาลัยนครราชสีมา มีความมุ่งมั่นในการจัดการศึกษาโดยเน้นในสาขาที่มีความต้องการของชุมชน และให้การบริการทางวิชาการและการวิจัยอย่างทั่วถึง มุ่งที่จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่นให้เจริญอย่างเข้มแข็ง พร้อมทั้งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติให้พัฒนาและดำรงอยู่อย่างถาวร วิทยาลัยนครราชสีมาได้ดำเนินการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ครอบคลุมภารกิจหลัก คือ ระบบการจัดการเรียนรู้ ระบบกิจการนักศึกษา ระบบติดตามช่วยเหลือ และระบบการบริหารทั่วไป
ในปี 2565 วิทยาลัยนครราชสีมาดำเนินการเปิดทำการสอนทั้งหมด 5 คณะวิชา คือ คณะสหเวชศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะศึกษาศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และคณะรัฐประศาสนศาสตร์ หลักสูตรที่เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอน จำนวนทั้งหมด จำนวน 23 หลักสูตร ดังนี้
1. หลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 16 หลักสูตร
1.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
1.2 หลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน
1.3 หลักสูตรการแพทย์ไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย
1.4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
1.5 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด
1.6 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
1.7 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
1.8 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
1.9 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.10 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
1.11 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
1.12 หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
1.13 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฐมวัย
1.14 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
1.15 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
1.16 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย
2. ประกาศนียบัตรบัณฑิต จำนวน 1 หลักสูตร
2.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู
3. หลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวน 6 หลักสูตร
3.1 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ
3.2 หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
3.3 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
3.4 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
3.5 หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
3.6 หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน
4. หลักสูตรระดับปริญญาเอก จำนวน 3 หลักสูตร
4.1 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
4.2 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
4.3 หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
ศักยภาพและความพร้อมในการขอเปลี่ยนประเภทสถาบันเป็นมหาวิทยาลัย
วิทยาลัยนครราชสีมาโดยการอนุมัติของสภาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันอังคาร ที่ 12 เดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ให้วิทยาลัยนครราชสีมา ดำเนินการเสนอเอกสาร หลักฐาน แสดงความพร้อมด้านต่าง ๆ ต่อสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เพื่อขอเปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัย โดยขยายเนื้อที่มากกว่า 100 ไร่ ณ ตำบลดอนชมพู อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อภาษาไทย
:
วิทยาลัยนครราชสีมา (วนม.)
ชื่อภาษาอังกฤษ
:
Nakhonratchasima College (NMC)
สีประจำสถาบัน
น้ำเงิน
:
ความมั่นคง หนักแน่น เป็นสีที่เชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
ชมพู
:
ความอ่อนโยน ความสว่างและความรักในสถานศึกษาของตน
สีประจำวิทยาลัย คือ
สีน้ำเงิน
และ
สีชมพู
จึงมีความหมายถึงความมั่นคง อ่อนโยน รักในสถานศึกษาของตนและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
สัญลักษณ์ประจำสถาบัน
:
[ Download]
ตราสัญลักษณ์ของวิทยาลัยนครราชสีมา มีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีชื่อวิทยาลัยนครราชสีมาเป็นภาษาไทยสีขาวด้านบนและ Nakhonratchasima College ภาษาอังกฤษสีขาวด้านล่างของวงกลมสีน้ำเงินทึบซึ่งมีเส้นรอบวงสีเหลืองอ่อน โดยภายในวงกลมมีรูปแผนที่ประเทศไทยสีน้ำเงินทึบซ้อนอยู่บนรูปโลกที่เป็นลายเส้นสีน้ำเงิน และมีรูปหนังสือสีขาวอยู่ด้านล่าง ด้านหน้าสุดมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ nmc ตัวพิมพ์เล็กเป็นสัญลักษณ์ของตัวย่อชื่อ Nakhonratchasima College โดยอักษร n, c เป็นสีชมพูเข้ม และอักษร m เป็นสีชมพูอ่อน
นับตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยนครราชสีมาเป็นต้นมา วิทยาลัยนครราชสีมาได้ปฏิบัติพันธกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ ได้ประกอบสัมมาชีพรับใช้สังคมและประเทศชาติอย่างมีคุณภาพ และประกอบด้วยคุณธรรม นำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคณาจารย์และผู้บริหารสถาบันเป็นอย่างยิ่ง
ลูกโลก หมายถึง ความเป็นสากล
หนังสือ หมายถึง แหล่งความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ
ความหมายรวมของตราสัญลักษณ์วิทยาลัยนครราชสีมาจึงหมายความถึง สถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่มุ่งจัดการการศึกษาให้มีความเจริญรุ่งเรืองสู่ความเป็นสากล ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม และจริยธรรม ในการดำเนินชีวิต มีพลังในการศึกษาหาความรู้และพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง มีความกล้าในการสร้างสรรค์และนำสังคมเพื่อความสำเร็จและเกียรติยศ
ต้นไม้ประจำสถาบัน
:
ต้นอินทนิล
อินทนิล เป็นไม้ยืนต้น เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นทั่วไปตามที่ราบลุ่มและบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำห้วย ในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดงดิบทั่วทุกภาค จะพบมากในป่าดงดิบภาคใต้ มีดอกสีม่วง สวยงาม มีชื่อในแต่ละท้องถิ่นต่าง ๆ กัน เช่น ตะแบกอินเดีย ฉ่องมู ซอง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) บาเอ (ปัตตานี) บางอบะซา (ยะลา นราธิวาส มาเลเซีย) อินทนิล (ภาคกลาง ภาคใต้) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)
ปรัชญา (Philosophy)
:
เรียนรู้ สร้างสรรค์ พัฒนา นำคุณค่าบัณฑิตสู่สังคม
วิสัยทัศน์ (Vision)
:
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ และการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
พันธกิจ (Missions)
:
1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้และทักษะที่ได้มาตรฐานทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ
มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
2. พัฒนาสถาบันให้มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
3. สร้างองค์ความรู้ใหม่และถ่ายโอนความรู้สู่สังคมรวมทั้งบริการวิชาการแก่สังคม
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศชาติ
อัตลักษณ์
:
"บัณฑิตนักปฏิบัติและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์"
เอกลักษณ์
:
"สถาบันอุดมศึกษาด้านสุขภาพและบริการเพื่อท้องถิ่น"
วัตถุประสงค์
:
1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ ทักษะทางวิชาการที่ได้มาตรฐาน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพงานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและพัฒนาตนเองโดยเพิ่มศักยภาพบุคลากรให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง
3. เพิ่มศักยภาพชุมชน โดยการให้บริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของสังคมเพิ่มศักยภาพให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง
4. ทำนุศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศชาติ รวมถึงการมีส่วนร่วมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
5. สร้างและพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดีใช้หลักธรรมาภิบาล มีการกระจายอำนาจมีความคล่องตัว เน้นการมีส่วนร่วม มีความทันสมัยนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกระบบ รวมถึงนำหลักการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถดำเนินงานเพื่อสนับสนุนภารกิจและระบบหลักของวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. มีระบบการจัดการเรียนรู้ที่ได้คุณภาพ มีความทันสมัย เน้นการใช้เทคโนโลยี และมีความเป็นสากล สามารถพัฒนาขีดความสามารถของนักศึกษาให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการและกิจกรรม รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ปรัชญาการศึกษา
:
"วิทยาลัยนครราชสีมา จัดการศึกษาด้วยกระบวนการเรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติมุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ สามารถคิดและกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีคุณธรรมจริยธรรม จิตสาธารณะ และสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม"
เพื่อสอดรับกับปรัชญาวิทยาลัย : "
เรียนรู้ สร้างสรรค์ พัฒนา นำคุณค่าบัณฑิตสู่สังคม
"
ลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของวิทยาลัย
:
1. มีความรอบรู้ (Knowledgeable)
2. คิดเป็น (Thinking)
3. ทำเป็น (Doing)
4. มีทักษะดิจิทัล และการสื่อสาร (Digital and Communicating Skills)
5. มีคุณธรรม จรรยาบรรณ และจริยธรรม (Ethics Vertue and Ethics)
6. มีสุขภาวะที่ดี (Healthy)
เพื่อสอดรับกับอัตลักษณ์ของวิทยาลัย : "
บัณฑิตนักปฏิบัติและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
"
ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
:
1. ทักษะการแสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์
3. ทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณ
4. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
5. ทักษะดิจิทัล การสื่อสาร และการนำเสนอข้อมูล
6. ความรอบรู้ดูแลสุขภาพ
เมนูสำหรับ
บริการนักศึกษา
คณะสาขาวิชา
หน่วยงานภายใน
เกี่ยวกับวิทยาลัย
นักศึกษาปัจจุบัน
บุคลากร
ศิษย์เก่า
E-Learning
E-mail
คู่มือนักศึกษา
รายชื่อผู้สำเร็จการศึกษา
แบบสอบถามภาวะการหางานทำของบัณฑิต
บริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
นิติศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์
ศึกษาศาสตร์
สหเวชศาสตร์
พยาบาลศาสตร์
สภาวิทยาลัย
สำนักวิจัยและพัฒนา
สำนักวิชาการ
สำนักประกันคุณภาพการศึกษา
สำนักพัฒนานักศึกษาและศิลปวัฒนธรรม
ศูนย์บริการวิชาการ
ศูนย์วิทยบริการ
งานกองทุนเพื่อการศึกษา
งานทะเบียนและวัดผล
ติดต่อสอบถาม
ที่ตั้งวิทยาลัย
เกี่ยวกับวิทยาลัย
ข้อมูลพื้นฐานการจัดการศึกษา
โครงสร้างการบริหาร
กรรมการสภาวิทยาลัย
คณะผู้บริหาร
สารนายกสภา
สารอธิการบดี
หลักสูตรที่เปิดสอน
เอกสารรับรองหลักสูตร
Untitled Document